วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง




 ตั้งอยู่ที่บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ประมาณ 10 กม. โดยใช้เส้นทางถนนสายเกาะลอย-เมืองลิง เป็นโรงงานทอผ้ายกทองโบราณที่คุณภาพผ้าและลายทัดเที่ยมของโบราณ เป็นการทอโดยใช้ใยไหมเส้นเล็กละเอียด (ไหมน้อย) มาย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิคแบบโบราณผสานกับการออกแบบลวดลายที่วิจิตร แบบลายชั้นสูงในอดีตเช่น ลายเทพพนม ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายก้านขดเต้นรำ ลายครุฑยุคนาค เป็นต้น รวมทั้งไหมทองคำที่ผลิตขึ้นมาจากเส้นเงินบริสุทธิ์แล้วปั่นควบกับเส้นไหม นำมาทักทอเป็นผ้าไหมยกทอง ที่มีความวิจิตรงดงาม ในการออกแบบและการทอแต่ละผืนต้องใช้เวลานาน บางผืนอาจใช้เวลาเป็นปีจึงแล้วเสร็จ ขึ้นอยู่กับขนาดของตะกอ การทอผ้าไหมของชาวบ้านท่าสว่างได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากสำนักพระราชวัง   และมูลนิธิในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทอผ้าไหมมอบให้กับผู้นำเอเปค เมื่อปี พ.ศ. 2546

หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา
หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ"เมื่อ ครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จากการริเริ่มผลงานศิลปหัตกรรมของกลุ่มทอผ้ายกทอง"จันทร์โสมา" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทย โบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่าง จากงานไร่งานนา ด้วยการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานกันระหว่าง ลวดลายการทอแบบราชสำนักกับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว โลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่คือการได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้ทอผ้าสำหรับ ตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี 2546 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ"หมู่บ้านทอผ้าเอเปก"และรางวัล OTOP ระดับ 5 ดาว ของประเทศ ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง "จันทร์โสมา" เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่งสีเหลืองจากแก่น แกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทองที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้น ด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป2-3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง ๔-๕ คน คือจะมีคนช่วยกตะกอ 2-3 คน คนสอดไม้ 1 คนและคนทออีก 1 คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 6-7 เซนติเมตรเท่านั้น การเข้าชมสามารถเข้าชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น การเดินทาง จากตัวเมืองสุรินทร์ใช้เส้นทางหลวงชนบท สร.4026 ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางตลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น