วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ไทย


ยุคแรกเริ่ม
จากหลักฐานทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในพื้นที่หลายแห่งของประเทศ ทำให้เชื่อได้ว่าบริเวณที่เป็นประไทยในปัจจุบันนี้ มีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนตั้งแต่เมื่อเกือบ 6 พันปีที่แล้ว โดยชนชาติที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ในยุคแรกๆ คือ ชาวละว้าและชาวป่าชาวเขาในตระกูลมอญและขอมโบราณ ได้ก่อตั้งอาณาจักรลพบุรีขึ้น ณ บริเวณที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน
จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีอาณาจักรต่างๆ ที่ครอบครองดินแดนในแถบนี้ในเวลาต่อมาอีก ได้แก่ อาณาจักรขอม ครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูนทางตะวันออก มีเมืองหลวงอยู่ที่นครวัด ในราชอาณาจักรกัมพูชาในปัจจุบัน อาณาจักรทวารวดีของชนชาติมอญ ครอบครองพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปถึงตอนเหนือของคาบสมุทรมลายา โดยมีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม อาณาจักรศรีวิชัยของชาวมลายู อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายา
ในระหว่างนั้นชนชาติไทยโบราณที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้อพยพโยกย้ายลงมาตั้งอาณาจักรน่านเจ้าขึ้นในบริเวณมณฑลยูนนาน ในเขตสิบสองปันนา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ก่อนจะถูกรุกรานจากชนชาติจีนซึ่งเข้มแข็งกว่า แล้วเดินทางถอยลงมาทางใต้ตามแนวแม่น้ำโขง ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน เพื่อหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิมสำหรับทำอาชีพกสิกรรม และตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่หลายแห่งในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในความครอบครองของชนชาติขอม
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ได้ปรากฏอาณาจักรล้านนาขึ้นบนฝั่งแม่น้ำโขง ในบริเวณที่ตั้งของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน และอาณาจักรล้านช้าง อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงพระบางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน
สมัยสุโขทัย
ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในช่วงเวลาเดียวกับยุคสมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรืองทางตอนเหนือ ชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามาอยู่ในดินแดนของขอม ได้รวมตัวกันและสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระจากขอม ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระร่วงเจ้า หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นกษัตริย์พระองค์แรก มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงสุโขทัย หรือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ช่วยเหลือ รูปแบบการปกครองในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
การปกครองส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวง และเมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน ที่อยู่รายล้อมเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ ประกอบด้วย เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) ทางทิศเหนือ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) ทางทิศตะวันออก เมืองสระหลวง (พิจิตร) ทางทิศใต้ และเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) ทางทิศตะวันตก
การปกครองหัวเมือง หรือเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราช
อาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมาอีกหลายพระองค์ และขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักร พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าไว้ในปกครองมากมาย จนยากที่จะปกครองได้อย่างทั่วถึง ต่อมาจึงประสบปัญหาทั้งจากภายนอกและภายใน และค่อยๆ ตกต่ำลงจนถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด
สมัยอยุธยา
ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ ภายใต้การนำของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง สถาปนาขึ้นเป็นกรุงศรีอยุธยา และได้รวบรวมอาณาจักรอื่นๆ รวมทั้งกรุงสุโขทัยเข้าไว้ในการปกครองเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ ยังขยายอำนาจออกไปทั่วบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน แหลมมลายู จนถึงเกาะปีนังและสิงคโปร์ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายประเทศ จึงเป็นช่วงเวลาที่มีวัฒนธรรมจากดินแดนอื่นๆ เผยแพร่เข้ามามาก
พระเจ้าอู่ทองได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางของกรุงศรีอยุธยา เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม คือ กษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง มีเสนาบดี คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา พร้อมทั้งตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและกฎหมายลักษณะอาญาราษฎรขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐานในกระบวนการยุติธรรม
ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้สูญเสียเอกราชครั้งที่ ให้แก่พม่า ใน พ.ศ. 2112-2124 ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืน และได้ประกาศอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2127 จากนั้นได้ทรงขยายอาณาเขตไปกว้างไกล กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมากและแผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องกันมารวม 33 พระองค์
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 เป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองขาดความสนใจในหน้าที่บ้านเมือง เกิดความแตกแยกภายใน บ้านเมืองระส่ำระสาย การปกครองขาดเสถียรภาพ ทั้งยังว่างเว้นจากการศึกสงครามมาเป็นเวลานาน กรุงศรีอยุธยาจึงถูกพม่ารุกราน และตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าอีกเป็นครั้งที่ 2
สมัยธนบุรี
ในปี พ.ศ. 2310 เมื่อพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาตากได้รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เมื่อรวบรวมไพร่พลได้อีกจำนวนหนึ่ง ก็ยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ในปีเดียวกัน แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้นได้รับความเสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟูได้ และเป็นเมืองที่พม่ารู้เส้นทางดีอยู่แล้ว ทำให้ยากต่อการปกป้องรักษาบ้านเมือง เจ้าพระยาตากจึงย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงธนบุรี แล้วสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปกครองอาณาจักรกรุงธนบุรี
สำหรับด้านการเมืองการปกครองของกรุงธนบุรีนั้น ยังคงใช้ระบอบที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง การปกครองส่วนกลางมีสมุหกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร และมีสมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน และจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา
การปกครองหัวเมืองแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา มีผู้ปกครองเรียกว่าผู้รั้ง หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าเมือง และหัวเมืองประเทศราช ที่มีอำนาจปกครองตนเอง ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปกครองบ้านเมืองมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2325 รวมระยะเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี 15 ปี
สมัยรัตนโกสินทร์
หลังจากสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว เศรษฐกิจของเมืองก็ตกอยู่ในสภาพที่ตกต่ำมากจากการทำศึกสงครามรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การทำสงครามกับพม่าเพื่อปกป้องราชธานี และต้องทำนุบำรุงบ้านเมืองตลอดเวลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 พระยาจักรี นายทหารซึ่งได้ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราชของบ้านเมืองเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ จึงได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และได้ทรงสร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ที่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีกว่า และพระราชทานนามว่า กรุงเทพมหานคร
แม้ปัญหาด้านการปกครองภายในจะเบาบางลงในยุคนี้ แต่การรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24 และ 25 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ และ ประเทศในแถบเอเชียตอนใต้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเกือบทั้งหมด มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ดำรงความเป็นเอกราชมาได้ เนื่องด้วยพระปรีชาสามารถในการดำเนินวิเทโศบายด้านการเมืองและการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์ไทย โดยทรงเจริญสัมพันธไมตรีและดำเนินการด้านการค้าและสัญญาต่างๆ กับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งบางครั้งต้องยอมสูญเสียดินแดนหรือผลประโยชน์ของประเทศบางส่วน เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติ ในช่วงเวลานี้เองที่แนวคิดทางการเมืองการปกครองแบบใหม่ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทยมากขึ้น
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครอง ซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้อง ทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดคณะราษฎรจึงได้ทำการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือพระรามาธิบดีที่ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกในปัจจุบัน















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น